วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มารู้จักมังกรจีนมุสลิม ใน มณฑลกานซู กันนะครับ

เรื่องราวของศาสนาอิสลามในมณฑลกานซู




มณฑลกานซู เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ตอนบนของที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห มีเมืองหลานโจวเป็นนครรัฐ ตั้งอยู่บนทำเลทองของเส้นทางสายไหมในอดีต เป็นมณฑลที่มีที่ราบสูงต่างๆ ห้อมล้อม มีเนื้อทั้งหมด 453,700 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 4.72% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศจีน

มีประชากรทั้งหมด 26 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มชนชาติต่างๆ เช่น ชาวฮั่น ชาวหุย ชาวทิเบต ชาวตงเซียง ชาวป่าอัน ชาวมองโกล ชาวคาซัส ชาวซาลา ชาวยวี่กู่และชาวแมนจูเป็นต้น

ซึ่งชาวตงเซียง ชาวยวี่กู่ และชาวเป่าอัน เป็นชนชาติที่มีเฉพาะในมณฑลดังกล่าว มณฑลกานซูเป็นมณฑลที่มีเทือกเขาจากแนวตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณนี้จึงกลายเป็นทรัพยากรทางด้านป่าไม้ที่มีความสำคัญ

นอกจากนั้นแล้วยังประกอบด้วยที่ราบ ที่ราบลุ่ม ทะเลทราย จึงทำให้สภาพภูมิอากาศมีลักษณะร้อนชื้น หนาวจัดและแห้ง อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 0 - 14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงจากจากตะวันออกเฉียงใต้ถึงตะวันตกเฉียงเหนือ

แม้ว่าสภาพอากาศจะแห้ง แต่ก็สามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในด้านต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ เช่นการใช้ประโยชน์ในด้านการก่อสร้าง การเกษตร เป็นต้น ผลผลิตทางด้านเกษตร บางชนิดเช่นข้าวโพด มันฝรั่ง ข้าวฟ่างของมณฑลดังกล่าวจึงขึ้นชื่อและมีความหลายหลายมาก นอกจากนั้นแล้วยังเป็นแหล่งปศุสัตว์ อุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมเบา โลหะนอกกลุ่มเหล็ก พลังงานและวัสดุก่อสร้างที่สำคัญของประเทศจีนอีกด้วย

มณฑลกานซูมีมุสลิมทั้งหมด 1 ล้าน 6 แสนกว่าคน มีมัสยิด 3,731 แห่ง และได้แบ่งออกเป็นสำนักต่างๆ เช่น zheherenye, hufuye, kuburenye เป็นต้น

มีพุทธศาสนิกชนราว 8 แสนคน โดยแบ่งออกเป็นพุทธนิกายลามะ 4 แสน 5 หมื่นคน พุทธมหายาน 3 แสน 5 หมื่นคน มีวัดทั้งหมด 682 แห่ง มีผู้ที่นับถือศาสนาเต๋าทั้งหมด 2 แสนกว่าคน เต๋าก้วนทั้งหมด 212 แห่ง และมี ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ทั้งหมด 9 หมื่นคน

โบสถ์คริสต์ทั้งหมด 387 แห่ง มณฑลกานซูยังคงเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมที่สำคัญของวัฒนธรรมจีน เป็นแหล่งกำเนิดพระเจ้าฝูซีซื่อในประวัติศาสตร์จีน ในมณฑลดังกล่าวมีเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 3 แห่ง หน่วยงานอนุรักษ์มรดกทางด้านวัฒนธรรมโบราณระดับชาติ 14 แห่ง หน่วยงานอนุรักษ์มรดกทางด้านวัฒนธรรมโบราณระดับมณฑล 433 แห่ง เขตอนุรักษ์พืชพันธ์สัตว์และทัศนียภาพทั้งหมด 26 แห่ง

ศาสนาอิสลามเผยแพร่เข้าสู่แผ่นดินมังกรสมัยราชวงค์ถังของจีน ราว ค.ศ.651 แต่ศาสนาอิสลามเข้าสู่มณฑลกานซูเมื่อเวลาใดนั้นไม่มี ลายลักษณ์อักษรที่ระบุอย่างชัดเจน ที่สำคัญคือ มณฑลกานซูนั้นเป็นช่วงที่สำคัญของเส้นทางสายไหมในอดีต

โดยเฉพาะบริเวณเหอซีหรือเมืองหลินเซี่ยในปัจจุบัน เป็นจุดแวะพักที่สำคัญของการเดินทางในเส้นทางดังกล่าว แม้ว่า เป้าหมายของชาวเปอร์เซียที่เข้ามาในสมัยนั้นคือเมืองฉางอัน แต่ก็มีชาวเปอร์เซียจำนวนไม่น้อยที่ตกค้างอยู่บริเวณดังกล่าว ในสมัยราชวงค์ซ่ง (ค.ศ.970 - 1279)

เนื่องด้วยเส้นทางสายไหมทางตอนเหนือขาด จึงทำให้ชาวเปอร์เซียไปค้าขายเส้นทางสายไหมทางตอนใต้ คือบริเวณเมืองหลานโจว เมืองเหอม่าน เมืองต้าซุ่ยของมณฑลกานซูจึงกลายเป็นแหล่งค้าขายที่สำคัญ มุสลิมในช่วงดังกล่าวส่วนมากจะเป็นพ่อค้า และมีจำนวนไม่มาก

พอสมัยราชวงค์หยวน (ค.ศ. 1206 - 1368 ) มุสลิมในตะวันออกกลาง หลั่งไหลมาทางจีนมากขึ้น จนมีสโลแกนที่พูดกันติดปากว่า “ชาวหุยสมัยหยวนนั้นกระจายอยู่ทุกแห่ง กานซูเยอะที่สุด” ในสมัยนี้มุสลิมในมณฑลดังกล่าวก่อตัวเป็นชุมชนในเมืองต่างๆ เป็นของตัวเอง จะเห็นได้ว่ามุสลิมที่อยู่ในมณฑลกานซูนั้น เป็นกลุ่มพ่อค้าที่มาค้าขายในประเทศจีน ไม่ใช่กลุ่มที่มุ่งมาเผยแพร่ศาสนา

ในการก่อสร้างมัสยิดนั้นก็มีวัตถุประสงค์คือเป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจ ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ศาสนา ในช่วงปลายราชวงค์หมิงและต้นราชวงค์ ชิง

กลุ่มต่างๆ ของลัทธิซูฟีย์ ได้แตกแยกออกเป็นสาขาต่างๆ สาขาเหล่านี้ได้มีการเผยแพร่ให้กับชาวบ้านที่ศรัทธา เนื่องจากการเน้นหนัก ในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดความ ขัดแย้งกันในบางเรื่อง

ในสมัยสังคมศักดินาได้ใช้ จุดอ่อนดังกล่าว ในการทำให้เกิดความแตกแยก ขาดความสามัคคีกันในกลุ่ม และได้สร้างความเข้มแข็งในด้านการปกครองจากจุดอ่อนดังกล่าวเช่นกัน

หลังจากที่ลัทธิซูฟีย์เข้าสู่ประเทศจีน ได้แยกออกเป็นกลุ่มย่อยต่างๆ กว่า 40 กว่ากลุ่ม ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ยังจัดอยู่ในกลุ่มของนิกายซุนนี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น